วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.จงอธิบายความหมายของเครือข่ายมาพอเข้าใจ
    เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ ระบบที่คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องทำการเชื่อมต่อกัน โดยในการเชื่อมต่อจะมีสื่อกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูล ซึ่งทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถใช้ทรัพยากร (Resource) ที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องพิมพ์ แฟกซ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิส เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก นอกจากนี้ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ยังเป็นผลดีในกรณีที่ต้องการสื่อสารข้อมูลในระยะทางไกล หรือเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ทั่วโลกโดยใช้เวลาเพียง น้อยนิด จากเดิมที่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนั้น อาจจำเป็นต้องใช้สื่อเก็บข้อมูลที่รับส่งกันภายนอก เช่น บันทึกลงแผ่นดิสก์แล้วไปส่งให้กับอีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองเวลามาก ยิ่งถ้าต้องการสื่อสารกันข้ามโลกยิ่งเป็นเรื่องลำบากและใช้เวลานานมาก แต่ในปัจจุบัน การสื่อสารผ่านสายสัญญาณของระบบเครือข่ายนั้น ทำให้การส่งข้อมูลทำได้ในเสี้ยววินาที

2.จงอธิบายความหมายของอินเตอร์เน็ต
      
    อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ     

3.จงอธิบายรูปแบบการเชื่อมต่อดังนี้
       3.1 แบบดาว
เครือข่ายแบบดาว (Star Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์หลักที่เป็นโฮสต์ (Host) ต่อสายสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ย่อยที่เป็นไคลเอนต์ (Client) คอมพิวเตอร์ที่เป็นไคลเอนต์แต่ละเครื่องไม่สามารถติดต่อกันได้โดยตรง การติอต่อจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์โฮสต์ที่เป็นศูนย์กลาง
    3.2 แบบวงแหวน
ครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีการติดต่อสื่อสารเป็นแบบวงแหวนโดยที่ไม่มีคอมพิวเตอร์หลัก คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายสามารถติดต่อกันได้โดยตรง
    3.3 แบบบัส
เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์บนสายเคเบิล ซึ่งเรียกว่าบัส คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งๆ สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้เป็นอิสระ โดยข้อมูลจะวิ่งผ่านอุปกรณ์ต่างๆ บนสายเคเบิลจนกว่าจะถึงจุดที่ระบุไว้ (Address)



    3.4 แบบทรีหรือแบบต้นไม้
โทโพโลยีแบบต้นไม้ (Tree Topology)
          มี ลักษณะเชื่อมโยงคล้ายกับโครงสร้างแบบดาวแต่จะมีโครงสร้างแบบต้นไม้ โดยมีสายนำสัญญาณแยกออกไปเป็นแบบกิ่งไม่เป็นวงรอบ โครงสร้างแบบนี้จะเหมาะกับการประมวลผลแบบกลุ่มจะประกอบด้วยเครื่อง คอมพิวเตอร์ระดับต่างๆกันอยู่หลายเครื่องแล้วต่อกันเป็นชั้น ๆ ดูราวกับแผนภาพองค์กร แต่ละกลุ่มจะมีโหนดแม่ละโหนดลูกในกลุ่มนั้นที่มีการสัมพันธ์กัน การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม และรับส่งข้อมูลเดียวกัน ดังนั้นในแต่ละกลุ่มจะส่งข้อมูลได้ทีละสถานีโดยไม่ส่งพร้อมกัน
4.จงสรุปว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อต่อระบบเครือข่ายมีอะไรบ้างพร้อมให้นิยามความหมายมาพอเข้าใจ

เครื่องคอมพิวเตอร์
               อุปกรณ์สำคัญในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ ควรมีคุณสมบัติดังนี้
1.        เครื่องคอมพิวเตอร์  ที่มีหน่วยประมวลผลกลาง  (CPU)  ตั้งแต่  233  MHz  เป็นต้นไป
2.        หน่วยความจำ  (RAM)  ไม่น้อยกว่า  8  MB
3.        ฮาร์ดดิสก์  ( Hard Disk )  มีขนาดความจุ  ตั้งแต่  100  MB  ขึ้นไป
4.        ดิสก์ไดร์ฟ  ( Disk  Drive )  ขนาด  1.44 MB
5.        ซีดีไดร์ฟ  ( CD  Drive )  และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ  เช่น  ลำโพง  ไมโครโฟน  เป็นต้น  


 
 โมเด็ม  ( Modem )
 
                โมเด็ม  ( Modem )  หรือ  Modulator-Demodulator  หมายถึง  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล  ( Digital )  จากเครื่องคอมพิวเตอร์  ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก  ( Analog )  เพื่อส่งไปตามเครือข่ายโทรศัพท์  ซึ่งเรียกว่า  Modulate  และแปลงสัญญาณ ข้อมูลแบบอนาล็อก  ( Analog ) ที่มาจากเครือข่ายโทรศัพท์กลับเป็นสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอล  ( Digital ) เพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งเรียกว่า Demodulate  โมเด็มเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการใช้งานอินเตอร์เน็ต  โดยโมเด็มได้ถูกพัฒนาให้มีความเร็วในการส่งข้อมูลที่สูง   ปัจจุบันมีความเร็วสูงถึง  56 Kbps  ( Kilobit  per  second )
               
    ประเภทของโมเด็ม (Modem) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
              1.       โมเด็มแยกตามลักษณะการใช้งาน
              2.       โมเด็มแยกตามมาตรฐานการสื่อสาร และความเร็วในการรับส่งข้อมูล
 
                  โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal Modem)
                โมเด็มติดตั้งภายในนั้น เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้กระแสไฟในการทำงานจากแผงวงจรหลัก (Mainboard) ของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหลัก  
 
                  โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External  Modem)
                         เป็นโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก มีลักษณะโดยส่วนใหญ่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมแบน  ประกอบด้วยแผงวงจรโมเด็ม  ซึ่งมีไฟแสดงสถานะของการรับส่งข้อมูล  กระแสไฟฟ้าในการทำงานได้จากภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการเชื่อมต่อนั้น จะทำการเชื่อมต่ออนุกรมแบ  RS-232C   ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะทำการติดตั้งที่จะทำการติดตั้งโมเด็มแบบภายนอกจะต้องพอร์ตนี้อยู่  และในปัจจุบันได้มีการนำพอร์ตแบบ  USB  (Universal Serial  Bus)  มาใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในรุ่นใหม่ๆ  โมเด็มติดตั้งภายนอกมีราคาที่สูงกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายใน   มีไฟแสดงสถานะของการทำงาน  และมีสวิชท์ที่ใช้สำหรับเปิด-ปิด 

                        โมเด็มแยกตามมาตรฐานการสื่อสารและความเร็วในการรับส่งข้อมูล
                         เป็นมาตรฐานในการกำหนดคุณลักษณะของโมเด็มต่อความเร็วในการรับส่งข้อมูล  ซึ่งในการเลือกซื้อโมเด็มนั้นจะต้องบอกถึงมาตรฐานและความเร็วในการใช้งาน  ซึ่งในองค์การพัฒนามาตรฐานสากลในเรื่องของ  การสื่อสารข้อมูล (CCITT หรือ The Consultative Committee in International Telegraphy and Telephoney)  ได้กำหนดมาตรฐานไว้ดังนี้

มาตรฐาน
ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
V.22
เป็นมาตรฐานการสื่อสารที่มีความสามารถในการรับส่งข้อที่มีความเร็ว  ในระดับ 1200 bps  ซึ่งเป็นมาตรฐานที่มีความเร็วต่ำสุด  ซึ่งปัจจุบันโมเด็มที่ใช้มาตรฐานนี้ไม่ได้นำมาใช้แล้ว
V.22 bis
เป็นมาตรฐานการสื่อสารที่มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่มีความเร็ว ในระดับ 2400  bps  ซึ่งปัจจุบันโมเด็มที่มาตรฐานนี้ราคาต่ำ
V.32
เป็นมาตรฐานการสื่อสารที่มาความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็วในระดับ 9600  bps
V.32bis
เป็นมาตรฐานการสื่อสารที่มาความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็วในระดับ14.4  Kbps
V.34
มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็วใน2ระดับคือ 28.8 K bps และ 33.6  K bps
V90
ีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็วในระดับความเร็วที่ 56.6K bps โดยเป็นที่นิยมและใช้งานในปัจจุบัน
 

โปรแกรม web browser

                        โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ( Web Browser)  เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเปิดดูข้อมูลต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลในเว็บเพจ ถือได้ว่าเป็นเอกสารข้อมูลที่ถูกเขียนด้วยภาษา HTML  ทำหน้าที่ในการแสดงผลของข้อมูลเอกสาร    อ่านข้อมูลที่ เป็นภาพ 2 มิติ 3 มิติ แสดงภาพเคลื่อนไหว ข้อมูลเสียงและวีดีโอได้  โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ยังสนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆ การจัดหมวดหมู่ข้อมูลของเว็บไซต์ การแสดงผลข้อมูลผ่านทางเครื่องพิมพ์
 
โทรศัพท์ (Telephone)
 
                  ผู้ใช้อินเทอร์เนตต้องใช้สายโทรศัพท์และหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อการเชื่อมโยงสัญญาณจากแหล่งให้บริการอินเทอร์เนต

ชื่อบัญชีผู้ใช้อินเทอร์เนต (Account)

                   คือ Account จากองค์กรหรือบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เนต (Internet service Provider : ISP)

ซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการ

                   ได้แก่ ซอฟท์แวร์สำหรับติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เนต  โปรแกรม Browser  และซอฟท์แวร์อื่น ๆ ที่ใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนต



5.จงอธิบายความหมายของคำคัพทย์ต่อไปนี้มาพอเข้าใจ
      5.1 LAN   เป็นลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันภายในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เครือข่าย LAN ออกแบบมาเพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน ในส่วนต่างๆขององค์กรในบริเวณที่ไม่ไกลกันมาก เช่นอยู่ในอาคารเดียวกัน ระหว่างชั้นอาคาร สามารถดูแลได้เองโดยไม่ต้องใช้ระบบสื่อสารข้อมูลแบบอื่น 
อุปกรณ์ในระบบเครือข่าย LAN
          1. LAN Card คือ Card ที่จะติดตั้งภายในเครื่อง PC ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก เท่ากับ VGA Card หรือ Sound Card สำหรับ LAN Card ยังแบ่งออกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นกับความเร็วที่ต้องการ เช่น 10 Mbps, 10/100 Mbps, 100 Mbps เป็นต้น

lan2

          2. LAN Cable คือ สายสัญญาณที่มีลักษณะคล้ายสายโทรศัพท์ ที่นิยมใช้มีดังนี้ UTB, STB ซึ่งการเลือกสายแต่ละประเภทนี้จะขึ้นกับการนำ ไปใช้ เช่น ติดตั้งภายใน ภายนอก หรือระยะทางไกลแค่ไหน เป็นต้น

lan3

          3. HUB คือ อุปกรณ์ทีใช้เป็นจุดศูนย์กลางในการกระจายสัญญาณ หรือข้อมูล โดยปกติการเลือก Hub จะดูที่จำนวน Port ที่ต้องการ เช่น 8 ports, 12 ports, 24 ports


lan4

      5.2 WAN
ระบบเครือข่ายแบบ WAN
ระบบเครือข่ายแบบ WAN หรือระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง จะเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายแบบท้องถิ่นตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปเข้าด้วยกันผ่านระยะทางที่ไกลมาก โดยการเชื่อมโยงจะผ่านช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะของบริษัทโทรศัพท์หรือ องค์การโทรศัพท์ของประเทศต่างๆ เช่น สายโทรศัพท์แบบอนาลอก สายแบบดิจิตอล ดาวเทียม ไมโครเวฟ เป็นต้น
      5.3 Frame Relay

  Frame relay เป็นการออกแบบสื่อสารโทรคมนาคมสำหรับประสิทธิภาพต้นทุนการส่งผ่านสำหรับการ จราจรเป็นช่วงระหว่างเครือข่ายพื้นที่ท้องถิ่น (local area network) และระหว่างจุดปลายในเครือข่ายพื้นที่กว้าง (wide area network) frame relay วางข้อมูลในหน่วยที่มีขนาดแปรผันที่เรียกว่าเฟรม (frame) และเหลือการแก้ไขความผิดพลาด (การส่งผ่านข้อมูลใหม่) ที่จำเป็นจนถึงจุดปลาย ซึ่งเร่งความเร็วขึ้นในการส่งผ่านข้อมูลทั้งหมด สำหรับบริการจำนวนมาก เครือข่ายให้วงจรเสมือนถาวร (permanent virtual circuit หรือ PVC) ซึ่งหมายความว่าลูกค้ามองเห็นการเชื่อมต่อที่ใช้และต่อเนื่องโดยปราศจากการ จ่าย leased line เต็มเวลา ขณะที่ผู้ให้บริการคำนวณเส้นทางของการเดินทางแต่ละเฟรมไปยังปลายทางและ สามารถเก็บค่าบริการตามการใช้ องค์กรขนาดใหญ่สามารถเลือกระดับของคุณภาพบริการ ให้ความสำคัญบางเฟรมและทำให้เฟรมอื่นสำคัญน้อยลง frame relay ได้รับการเสนอโดยผู้ให้บริการจำนวนหนึ่ง รวมถึง AT&T ด้วย frame relay ได้รับการให้บริการบนตัวกลาง fractional T-1 หรือ T-carrier system เต็ม ส่วนประกอบ frame relay และให้การบริการช่วงกลางระหว่าง ISDN ซึ่งให้ความกว้างแถบ (bandwidth) ที่ 128 Kbps และ Asynchronous Transfer Mode ซึ่งปฏิบัตงานคล้ายกับ frame relay แต่ที่ความเร็วจาก 155.520 Mbps หรือ 622.080 Mbps
          frame relay อยู่บนพื้นฐานเทคโนโลยี X.25 packet-switching รุ่นเก่าซึ่งได้รับการออกแบบสำหรับการส่งผ่านข้อมูลอะนาล๊อก เช่น การสนทนาด้วยเสียง ต่างจาก X.25 ซึ่งได้รับการออกแบบสำหรับสัญญาณอะนาล๊อก frame relay เป็นเทคโนโลยี fast packet ซึ่งหมายความว่า โปรโตคอลไม่พยายามในการแก้ไขความผิดพลาด เมื่อเกิดความผิดพลดาในเฟรม สิ่งนี้ “ทิ้ง” อย่างง่าย จุดปลายตอบสนองสำหรับการตรวจค้นและส่งผ่านเฟรมที่ทิ้งใหม่ (อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ขอองความผิดพลาดในเครือข่ายดิจิตอลน้อยมากเมื่อเทียบกับเครือข่าย อะนาล๊อก)
          frame relay มักจะได้รับการใช้เชื่อมต่อเครือข่ายพื้นที่ท้องถิ่นกับ backbone หลัก และเครือข่ายพื้นที่กว้างสาธารณะและรวมถึงในสภาพแวดล้อมเครือข่ายส่วนบุคคล กับ leased line บนสาย T-1 สิ่งนี้ต้องการการเชื่อมต่อเต็มระหว่างช่วงการส่งผ่าน สิ่งนี้ไม่เหมาะสมทางทฤษฎีสำหรับเสียงหรือการส่งผ่านวิดีโอ ซึ่งต้องการการไหลมั่นคงของการส่งผ่าน อย่างไรก็ตาม ภายใต้ภาวะแวดล้อมแน่นอน สิ่งนี้ใช้สำหรับการส่งผ่านเสียงและวิดีโอ
          frame relay หน่วงแพ็คเกตที่ชั้นการเชื่อมต่อข้อมูล (data link layer) ของแบบจำลอง Open Systems Interconnection (OSI) แทนที่ชั้นเครือข่าย (network layer) เฟรมสามารถประสานแพ็คเกตจากโปรโตคอลต่างกัน เช่น Ethernet และ X.25 สิ่งนี้แปรผันในขนาดและสามารถใหญ่เป็นหลายพันไบต์หรือมากกว่า

      5.4 Ethernet

Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub  ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ
      คำว่าอีเทอร์เน็ต (Ethernet) หมายถึง ความหมายที่มีอยู่ทั่วไปของอีเทอร์เน็ตซึ่งมีหลากหลายมาตรฐาน อีเทอร์เน็ตพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Xerox (โดยได้แนวคิดมาจากโครงการสื่อสารผ่านดาวเทียม Aloha ที่พัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัย Hawaii) เพื่อเป็นมาตรฐานสำคัญของเครือข่าย LAN ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ระบบที่ใช้อีเทอร์เน็ตนั้นเหมาะกับงานที่ต้องการรับส่ง/ข้อมูลในอัตราความ เร็วสูงเป็นช่วง ๆ เป็นครั้งคราว การรับ/ส่งข้อมูลในเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ตแต่ละครั้งเครื่องเป็นไปอย่างไม่ มีวินัย นั่นคือเมื่อตรวจสอบแล้วว่าในขณะนั้นไม่มีเครื่องอื่น ๆ กำลังส่งข้อมูล แต่ละอย่างเครื่องจะแย่งกันส่งข้อมูลออกมา โดยเครื่องใดที่ส่งข้อมูลออกมาจะมีหน้าที่เฝ้าดูว่ามีเครื่องอื่นทำการส่ง ข้อมูลออกไปพร้อมกันด้วยหรือไม่ เพราะถ้าเกิดการส่งพร้อมกันแล้วจะก่อให้เกิดการชนกันของข้อมูล แต่ถ้าตรวจจับได้ว่ามีการขนกันขึ้นก็จะหยุดส่งแล้วรอคอยเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนจะทำการส่งข้อมูลออกไปอีกครั้งหนึ่ง เวลาที่ใช้ในการรอคอยนั้นเป็นค่าที่สุ่มขึ้นมา ซึ่งมีความสั้นยาวต่างกันไป เทคนิคหลายอย่างเช่นที่นำมาใช้ในการรอคอยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันซ้ำสอง หนึ่งในนั้นคือ คำนวณการเพิ่มระยะเวลารอคอยแบบ Exponential ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection (CSMA/CD)
        เนื่องจากการ์ดอีเทอร์เน็ตที่ใช้ในเครือข่ายแบบนี้สร้างมาจากหลายผู้ผลิต จึงมีองค์กรมาตรฐานขึ้นมากำหนดหมายเลขประจำให้ผู้ผลิตแต่ละราย เพื่อสร้างความมั่นใจให้การ์ดแต่ละใบจะไม่มีแอดเดรสที่ซ้ำกัน การส่งข้อมูลของอีเทอร์เน็ตนั้นจะเป็นไปในแบบเฟรมที่มีความยาวไม่แน่นอน  แม้ว่าเฟรมข้อมูลของอีเทอร์เน็ตจะมีแอดเดรสต้นทางและปลาย แต่เทคโนโลยีอีเทอร์เน็ตเองกลับเป็นการส่งข้อมูลแบบกระจายสัญญาณ (Broadcast) ซึ่งในเครื่องเครือข่ายเดียวกันจะได้รับเฟรมข้อมูลเดียวกันทุกเฟรม โดยเลือกเฉพาะเฟรมที่มีแอดเดรสปลายทางเป็นของตนเองเท่านั้น ส่วนเฟรมอื่น ๆ จะไม่สนใจ แต่ในบางกรณ๊ที่มีการทำงานในโหมด Promiscuous ซึ่งเป็นโหมดที่นำเฟรมข้อมูลทุกเฟรมไปใช้งานโดยส่งต่อไปยังซอฟแวร์ที่ทำ งานอยู่ในระดับที่สูงขึ้นไป เช่น กรณีของเครื่องที่ทำหน้าที่วิเคราะห์โปรโตคอล (Protocal Analyzer) หรืออาจจะเป็นการกระทำของผู้ที่ไม่ประสงค์ดีของพวกแฮกเกอร์ก็ได้ กรณีเช่นนี้จะเห็นถึงความปลอดภัยของมาตรฐานนี้

     5.5 Internet
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาด ใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

      5.6 Protocol
การสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำต้องมีการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายเดียวกันนี้ อาจจะมีฮาร์ดแวร์,ซอฟท์แวร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อทำการส่งข้อมูลถึงกันและตีความหมายได้ตรงกัน จึงต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อให้ตรงกัน โปรโตคอล ( Protocol ) คือระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตัวโปรโตคอลที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ TCP/IP นอกจากนี้ยังมีการออกแบบโปรโตคอลตัวอื่นๆขึ้นมาใช้งานอีก เช่น โปรโตคอล IPX/SPX,โปรโตคอล NetBEUI และ โปรโตคอล Apple Talk
โปรโตคอล IPX/SPX
ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Novell ซึ่งทำการพัฒนามาจากตัวโปรโตคอล XNS ของบริษัท Xerox Corporation ซึ่งโครงสร้างเมื่อทำการเปรียบเทียบ
กับ OSI Model ดังรูป
ตัวโปรโตคอล IPX/SPXแบ่งออกเป็น 2 โปรโตคอลหลักคือ Internetwork Packet Exchange   ( IPX) และ Sequenced Packet Exchange (SPX) โดยโปรโตคอล IPX ทำหน้าที่ในระดับ network layer ตามาตรฐาน OSI Model มีกลไกการส่งผ่านข้อมูลแบบ connectionless,unrerelibleหมายความว่า เมื่อมีการส่งข้อมูล โดยไม่ต้องทำการสถาปนาการเชื่อมต่อกันระหว่าง host กับเครื่องที่ติดต่อกันอย่างถาวร ( host , เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการใดๆในเครือข่าย ) และไม่ต้องการรอสัญญานยืนยันการรับข้อมูลจากปลายทาง โดยตัวโปรโตคอลจะพยายามส่งข้อมูลนั้นไปยังปลายทางให้ดีที่สุด สำหรับโปรโตคอล SPX ทำหน้าที่ในระดับ transport layer ตามมาตรฐาน OSI Model โดยส่งผ่านข้อมูลตรงข้ามกับโปรโตคอล IPXคือ ต้องมีการทำการสถาปนาการเชื่อมโยงกันก่อนและมีการส่งผ่านข้อมูลที่เชื่อถือได้ ด้วยการตรวจสอบสัญญาณยืนยันการรับส่งข้อมูลจากปลายทาง
โปรโตคอล NetBEUI
โปรโตคอล NetBEUI หรือ NetBIOS Enhanced User Interface นั้น เป็นโปรโตคอลที่ไม่มี ส่วนในการระบุเส้นทางส่งผ่านข้อมูล (Non-routable Protocol)โดยจะใช้วิธีการ Broadcast ข้อมูลอกไปในเครือข่าย และหากใครเป็นผู้รับที่ถูกต้องก็จะนำข้อมูลที่ได้รับไปประมวลผล ข้อจำกัดของโปรโตคอลประเภทนี้ก็คือไม่สามารถทำการ Broadcast ข้อมูลข้ามไปยัง Physical Segment อื่นๆที่ไม่ใช่ Segment เดียวกันได้ เป็นการแบ่งส่วนของเครือข่ายออกจากกันทางกายภาพ หากต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายถึงกันจะต้องใช้อุปกรณ์อย่างเช่น Router มาทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเครือข่าย
เนื่องมาจากอุปกรณ์บางอย่างเช่น Router ไม่สามารถจะ Broadcast ข้อมูลต่อไปยังเครือข่ายอื่นๆได้ เพราะถ้าหากยอมให้ทำเช่นนั้นได้ จะทำให้การสื่อสารระหว่างเครือข่ายคับคั่งไปด้วยข้อมูลที่เกิดจากการ Broadcast จนเครือข่ายต่างๆไม่สามารถที่จะสื่อสารกันต่อไปได้ โปรโตคอล NetBEUI จึงเหมาะที่จะใช้งานบนเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เกิน 50 เครื่องเท่านั้น NetBEUI เป็นหนึ่งในสองทางเลือกสำหรับผู้ใช้งาน NetBIOS ( Network Basic Input Output System ) ซึ่งสามารถทำงานได้ทั้งบนโปรโตคอล TCP/IP และ NetBUEI
โปรโตคอล AppleTalk
จุด เริ่มต้นของโปรโตคอล AppleTalk เกิดขึ้นในปีค.ศ.1983 ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัท Apple Computer ต้องการออกแบบชุดโปรโตคอลสื่อสารข้อมูลของตนเองขึ้น เพื่อใช้เชื่อมโยงเครือข่ายของเครื่องแบบแมคอินทอช และสามารแชร์กับอุปกรณ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังขยายไปสู่การเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์,เครื่อง พิมพ์, Gateway และ Router ของผู้ผลิตรายอื่นๆด้วยต่อจากนั้นเครื่องแมคอินทอชและอุปกรณ์ต่างๆที่บริษัท ผลิตออกมาก็ได้มีการเพิ่มส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ให้สามารถรองรับโปรโต คอลตัวนี้ได้ รวมถึงระบบปฏิบัติการ MacOS รุ่นใหม่ๆก็ได้มีการผนวกฟังก์ชั่นให้รองรับโปรโตคอลตัวนี้ได้เช่นกัน ทำให้กลุ่มผู้ใช้เครื่องแมคอินทอชสามารถเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายได้ง่าย โดยไม่ต้องไปหาซื้อ อุปกรณ์เพิ่มเติมอีก
โป รโตคอล Apple Talk ถูกออกแบบมาให้ทำงานเป็นเครือข่ายในแบบ peer-to-peer ซึ่งถือว่าเครื่องทั้งหมดที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายสามารถเป็นเซิร์ฟเวอร์ ได้ทุกเครื่องโดยไมต้องจัดให้บางเครื่องทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ให้ บริการโดยเฉพาะขึ้นมา ต่อมาปีค.ศ. 1989 ได้มีการพัฒนาโปรโตคอล AppleTalk ให้สนับสนุนเครือข่ายที่ใหญ่มากขึ้นได้ สามารถมีเครื่องลูกข่ายและอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายได้มากกว่าเดิม เรียกว่าเป็นโปรโตคอล Apple Talk Phase 2 นอกจากนี้ยังเพิ่มโปรโตคอลที่ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบ Ethernet และ Token Ring ได้ โดยเรียกว่า EtherTalk และ TokenTalk ตามลำดับ
โปรโตคอลTCP/IP ( RFC1180 )
โปรโตคอล TCP/IP เป็นชื่อเรียกของชุดโปรโตคอลที่สำคัญ มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายตามการขยายตัวของอินเทอร์เนท/อินทราเนท ความจริงแล้วโปรโตคอล TCP/IP เป็นกลุ่มของโปรโตคอล หลายตัวที่ประกอบกันเป็นชุดให้ใช้งานโดยมีคำเต็มว่าTransmission Control Protocol /Internet Protocol ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีโปรโตคอลประกอบกันทำงาน 2 ตัว คือ TCP และ IP

ตัวอย่างของกลุ่มโปรโตคอลในชุดของ TCP/IP ที่เราพบและใช้งานบ่อยๆ ( ส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้งานโดยตรง แต่จะใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆหรือทำงานโดยอ้อม เช่น Internet Protocol,Address Resolution Protocol(ARP) ,Internet Control Message Protocol (ICMP) ,User Datagram Protocol (UDP) ,Transprot Control Protocol (TCP) และ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP)

โปรโตคอลที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานในเครือข่ายอินเทอร์เนทคือ Internet Protocol (โปรโตคอล IP) เนื่องจากเมื่อโปรโตคอลอื่นๆต้องการส่งผ่านข้อมูลข้ามเครือข่ายในอินเทอร์เนทนั้น จะต้องอาศัยการผนึกข้อมูล ไปกับโปรโตคอล IP ที่มีกลไกการระบุเส้นทาง ผ่าน Gateway หรือ
Router เพื่อนำข้อมูลไปยังเครือข่ายและเครื่องปลายทางที่ถูกต้อง เนื่องจากกลไกการระบุเส้นทางจะทำงานที่โปรโตคอล IP เท่านั้นและด้วยเหตุนี้เราจึงเรียก ว่าเป็นโปรโตคอลที่มีความสามารถในการระบุเส้นทางการส่งผ่านของข้อมูลได้(Routable)

การที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถสื่อสารกันได้จำต้องมีการระบุแอดเดรสที่ไม่ซ้ำกัน เพราะไม่เช่นนั้นข้อมูลที่ส่งอาจจะไม่ถึงปลายทางได้ ซึ่งแอดเดรสจะมีข้อกำหนดมาตรฐาน ซึ่งในการใช้งานโปรโตคอล TCP/IP ที่เชื่อมโยงเครือข่ายนี้ จะเรียกว่า IP Address ( Internet Protocol Address )

      5.7 Fiber Optic
Fiber Optic คือ สายสัญญาณของระบบเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณได้ไกลๆ เป็นกิโลเมตร และมีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับสายแลนทั่วๆ ไป (CAT5, CAT5e, CAT6, CAT7 เป็นต้น)?Fiber Optic เรียกเป็นภาษาไทยว่า "เส้นใยแก้วนำแสง"

Fiber Optic cable

คุณสมบัติของ Fiber Optic

  • Fiber Optic ภายในทำจากแก้วที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก
  • มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเท่าเส้นผมของคนเรา
  • รับส่งสัญญาณได้ระยะไกลมากเป็นกิโลเมตร
  • ต้องใช้ผู้ชำนาญ และเครื่องมือเฉพาะในการเข้าหัวสัญญาณ
  • ราคาแพงหลายเท่า เมื่อเทียบกับสายแลนประเภท CAT5

Fiber Optic แบ่งออกได้ 2 ประเภท

  • เส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Singlemode Optical Fibers, SM)
  • เส้นใยแก้วนำแสงชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM)

การนำไปใช้งานของ Fiber Optic

  • ตึกสูงๆ ที่ต้องการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย ทำเป็น Backbone (สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก)
  • ระบบการรับส่งสัญญาณภาพ วีดีโอ ตามพื้นที่ต่างๆ
  • การเชื่อมต่อสัญญาณระยะไกล
  • และอื่นๆ อีกมากมาย
     5.8 ATM
ATM (Asynchronous Transfer Mode)
เครือข่าย ATM จะใช้โปรโตคอล ATM (Asynchronous Transfer Mode) เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ATM ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้กับงานที่มีลักษณะ ข้อมูลหลายรูปแบบและต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมากๆ สื่อที่ใช้ ในเครือข่ายมีได้ตั้งแต่สายไฟเบอร์ออปติค สายโคแอกเชียล หรือสายไขว้คู่ (Twisted pair) มีความเร็วในการส่งข้อมูลได้ตั้งแต่ 2 Mbps ไปจนถึง 622 Mbps ATM ถูกพัฒนามาจากเครือ ข่าย Packet-switching ซึ่งจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ เรียกว่า packet ที่มีขนาด เล็กและคงที่แล้วจึงส่งแต่ละ packet ออกไป แล้วนำมาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลเดิมอีก ครั้งที่ปลายทาง ข้อดีของ ATM คือสามารถใช้กับข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น เสียง, ภาพเคลื่อนไหว หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ, มีความเร็วของข้อมูลสูง และสามารถรับประกันคุณภาพของการส่งได้ (มี Quality of Service)

ลักษณะการทำงานของ ATM
ATM เป็นมาตรฐานรูปแบบ การส่งข้อมูลความเร็วสูง ที่ถูกพัฒนามาสำหรับงานที่ต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมาก ๆ ข้อมูลที่ส่งในเครือข่าย ATM จะถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อยเล็ก ๆ เรียกว่า เซลล์ (Cell) ซึ่งมีขนาด 53 byte ประกอบด้วยส่วนข้อมูล (payload) ขนาด 48 byte และส่วนหัว (header) ขนาด 5 byte ดังแสดงในรูปที่ 1 ส่วนหัวจะเก็บข้อมูลที่จำเป็น ต่าง ๆ ที่ใช้ในการควบคุมการส่ง เช่น จุดหมายปลายทาง ระดับความสำคัญของ cell นั้น โดยจะ ประกอบด้วย VPI (Virtual Path Identifier) และ VCI (Virtual Circuit Identifier) ทำหน้าที่กำหนดวงจรเสมือน (virtual circuit) ในการเดินทางให้กับเซลล์นั้น และ HEC (Header Error Check) ทำหน้าที่ตรวจสอบ cell ที่ไม่สอดคล้องตามที่ระบุในส่วนหัว สวิตซ์ ATM จะทำหน้าที่ในการมัลติเพลกซ์ และจัดการส่งข้อมูลนั้นตามที่กำหนดไว้ในส่วนหัวไปสู่ปลายทาง เมื่อข้อมูลของผู้ใช้เข้ามา จะถูกตัดแบ่งย่อยเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 48 byte และเติมส่วนหัวเข้าไป อีก 5 byte แล้วจึงส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเครือข่าย ATM ซึ่งระบุไว้โดยส่วนหัว เมื่อถึงปลาย ทางแล้วก็จะเอาส่วนหัวออก แล้วประกอบกันเป็นข้อมูลชิ้นใหญ่เหมือนเดิม ลักษณะของ ATM นี้จะคล้ายกับ packet-switching network อื่นๆ ที่มีอยู่ เช่น x.25 หรือ frame relay แต่ต่างกันที่ ATM จะมีขนาด packet เล็กและคงที่

รูปแสดง ATM Cell

รูป แบบการส่งข้อมูล ATM เป็นแบบ connection-oriented กล่าวคือจะมีการสร้าง connection จากต้นทางถึงปลายทางกำหนดเส้นทางที่แน่นอนก่อน แล้วจึงเริ่มส่งข้อมูล เมื่อส่งข้อมูลเสร็จก็ปิด connection เปรียบเทียบได้กับการโทรศัพท์ จะต้องมีการเริ่มยกหู กดเบอร์ และเมื่อมีคนรับก็ต้องสวัสดีแนะนำตัวกันก่อน แล้วจึงเริ่มการสนทนา เมื่อสนทนาเสร็จแล้วก็มีการกล่าวคำลกและวางหูเป็นการปิด connection ต่างจาก IP Network ในแบบก่อน ซึ่งจะ เป็นแค่การระบุจุดหมายปลายทางแล้วก็ส่งข้อมูลไปเท่านั้น การเลือกเส้นทางในแต่ ละครั้งขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ระหว่างเส้นทางเดินว่าจะเลือกเส้นทางใด เหมือนกับการส่งจดหมายนั่นเอง เราเพียง ระบุจ่าหน้าแล้วก็หย่อนลงตู้ไปเท่านั้น ผู้ส่งไม่สามารถทราบได้ว่าจะไปถึงผู้ รับเส้นทางไหนและจะไปถึงเมื่อไร นอกจากนี้ ATM ยังมีลักษณะหนึ่งที่มีความสำคัญมาก คือ ATM จะมี QoS (Quality of Service) ซึ่งสามารถรับประกันคุณภาพของการส่งข้อมูลในแต่ละ connection ได้ นั่นคือเมื่อมีการเริ่ม connection จะมีการตกลงระดับ QoS ที่ต้องการใช้ก่อน เพื่อให้ เราสามารถส่งข้อมูลโดยได้รับคุณภาพของการส่งตามที่กำหนดไว้นั่นเอง

เครือ ข่าย ATM เป็นระบบแบบสวิตซ์ กล่าวคือในเครือข่าย ATM นั้น แต่ละ connection สามารถส่งข้อมูลถึงกัน ได้ทันที ไม่ต้องรอให้อีกคนหนึ่งส่งเสร็จก่อน ถ้าพิจารณาทางแยกอันหนึ่งที่มีรถวิ่ง มาจากหลาย ๆ ทาง เราสามารถเปรียบเทียบเครือข่ายแบบสวิตซ์นี้ได้เสมือนเป็นทางต่างระดับ ซึ่งรถจากแต่ละทางสามารถวิ่งไปยังปลายทางของตนเองได้ทันทีโดยที่ไม่ต้อง รอกัน ซึ่งต่างจากระบบแบบ shared-bus ที่เปรียบเสมือนกับทางแยกธรรมดาซึ่งมีไฟแดงไฟเขียว รถที่แล่นมาจากแต่ละทางจะต้องรอให้ถึงสัญญาณไฟเขียวก่อน จึงจะวิ่งต่อไปได้ และไม่อาจวิ่งหลาย ๆ ทางพร้อม ๆ กันได้

โครงสร้างโปรโตคอลของ ATM
จะแบ่งการทำงานที่สลับซับซ้อนออกเป็น 4 ชั้น ได้แก่
   
1.Physical Layer (PHY) เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับตัวนำสัญญาณที่ใช้ในการส่งสัญญาณดิจิตอล นการ นำ ATM มาใช้ในเครือข่ายโทรคมนาคมนั้น จะนำมาใช้ร่วมกับ SONET(Synchronous Optical Network)/SDH (Synchronous Digital Hierarchy) โดยมีเส้นใยแก้วนำแสงเป็นตัวนำสัญญาณ

2. Asynchronous Transfer Mode Layer (ATM) ทำหน้าที่สร้างส่วน header ของเซลล์ และประมวลผลส่วน header ของเซลล์ที่รับเข้ามา โดยอ่านค่า VCI/VPI ของเซลล์ และหาเส้นทางที่จะส่งเซลล์ออกไป แล้วจึงกำหนด VCI/VPI ใหม่ให้กับส่วน header ของเซลล์นั้น

3. ATM Adaptation Layer (AAL) ทำหน้าที่ปรับบริการที่ได้รับจากชั้น ATM ให้สอดคล้องกับความต้องการของโปรโตคอลและแอพพลิเคชั่น ในชั้น higher layer โดยแบ่งเป็น 5 ชนิดด้วยกันเพื่อใช้กับแอพพลิเคชั่นที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้
- AAL1 เป็นวิธีการกำหนดให้มีการส่งและรับข้อมูลด้วยอัตราคงที่ (constant bit rate) โดยการจำลองวงจรการเชื่อมโยงระหว่างตัวรับตัวส่งข้อมูลที่ส่งมีลักษณะ เป็น stream เพื่อใช้กับแอพ-พลิเคชั่นที่มีการส่งสัญญาณแบบจุดไปจุดอย่างต่อเนื่อง

- AAL2 เป็นวิธีการรับส่งข้อมูลแบบปรับค่าความเร็วของการรับส่งได้ตามที่ต้อง การ (variable bit rate) โดยเน้นการใช้อัตราความเร็วตามที่ต้องการ จึงนำมาใช้กับการ รับส่งสัญญาณเสียงและภาพได้

- AAL3/4 เป็นวิธีการรับส่งข้อมูลแบบปรับค่าความเร็วของการรับส่งได้ตาม ที่ต้องการ (variable bit rate) เช่นเดียวกับ AAL2 แต่ต่างกันที่สามารถรับส่งข้อมูลแบบ asynchronous ได้ กล่าวคือเวลาในการส่งและรับข้อมูลไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กัน

- AAL5 มีวิธีการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับ AAL3/4 ข้อแตกต่างกันคือสามารถใช้กับการสื่อสารข้อมูลซึ่งมีเชื่อมต่อแบบ connectionless ได้ และมีส่วน header ของ payload สั้นกว่า AAL3/4


โป รโตคอลในชั้น AAL นี้จะควบคุมการติดต่อสื่อสารจากต้นทางถึงปลายทาง และจะถูก ประมวลผลโดยผู้ส่งและผู้รับข้อความ (message) เท่านั้น ชั้น AAL แบ่งออกเป็นชั้นย่อย 2 ชั้น คือ ชั้น Convergence Sublayer (CS) ช่วยในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ (interface) ที่ไม่ใช่ ATM เข้ากับ ATM และชั้น Segmentation and Reassembly Sublayer (SAR) ทำหน้าที่ตัดข้อความที่โปรโตคอลหรือแอพพลิเคชั่นต้องการส่งออกเป็น ส่วนย่อยๆ เพื่อนำไปสร้างเซลล์หรือนำส่วนข้อมูล (information) จาก payload ของเซลล์มาต่อกันเป็นข้อความ

ข้อดี ของ ATM
ข้อดีของการใช้ ATM สามารถจำแนกได้ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ATM ถูกพัฒนาให้เป็นมาตรฐานกลางของการสื่อสารทั่วโลก อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำงาน ร่วมกันได้ถึงแม้จะต่างชนิดกัน โดยใช้มาตรฐานเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นยี่ห้อหนึ่งยี่ห้อใด กล่าวคือ เป็นมาตรฐานกลางที่ร่วมกันกำหนดขึ้นเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน

2. ATM ถูกพัฒนาเพื่อการส่งข้อมูล สำหรับทั้งเครือข่ายภายในระยะใกล้ (LAN : Local Area Network) และ ระยะไกล (Wide Area Network : WAN) แต่เดิมนั้นรูปแบบของการส่งข้อมูลใน LAN และ WAN จะแตกต่างกัน ซึ่งสร้างความยุ่งยากในการเชื่อมต่อและบริหารเครือข่าย แต่ ATM จะผนวกทั้ง LAN และ WAN เข้าเป็นเครือข่ายใหญ่ที่มีมาตรฐานเดียว

3. ATM ถูกพัฒนาให้ใช้กับข้อมูลทุกรูปแบบ แต่เดิมนั้นข้อมูลแต่ละรูปแบบไดเแก่ สัญญาณเสียง (voice) ข้อมูล (data) และภาพเคลื่อนไหว (video) ต่างก็มีเครือข่ายของตนเอง โดยสัญญาณเสียงที่ใช้ในเครือข่ายโทรศัพท์จะมีลักษณะที่มีอัตราการส่งข้อมูล คง ที่เท่า ๆ กันตลอดเวลา ข้อมูลเสียงอาจยอมให้มีการสูญเสีย (error) ได้บ้าง แต่จะต้อง ให้มีการหน่วงเวลา (delay) น้อยที่สุด ส่วนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ (data) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะมีอัตราการส่งข้อมูลไม่คงที่ มีลักษณะเป็น bursty คือ บางเวลาจะมีข้อัมูลมากเป็นกลุ่มก้อน แต่บางเวลาก์ไม่มีข้อมูลเข้ามาเลย ลักษณะนี้เรายอมให้มีการหน่วงเวลาได้บ้าง แต่จะให้มีการสูญเสีย (error) ให้น้อย ที่สุด จะเห็นว่าข้อมูลต่างลักษณะกัน ต้องการคุณภาพในกรส่งที่ต่างประเด็นกัน สำหรับ ATM เราไม่จำเป็นต้องแยกเครือข่ายสำหรับข้อมูลเหล่านี้ เนื่องจากมันถูกออก แบบมาเพื่อใช้กับข้อมูลทุกรูปแบบทั้งเสียง (voice), ข้อมูล (data) และ วิดีโอ (video) นั่นเอง
รูป ที่ 2 แสดงประโยชน์ของเครือข่าย ATM ที่สามารถผนวกการให้บริการข้อมูลรูปแบบต่ างๆ ในเครือข่ายเดียวกันได้ (ATM can provide multiple services on a single network.)

4. ATM สามารถใช้ได้ที่ความเร็วสูงมาก ตั้งแต่ 1 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที = 1 ล้านบิตต่อวินาที) ไปจนถึง Gbps (กิกะบิตต่อวินาที = 1 พันล้านบิตต่อวินาที)

5. ATM สามารถส่งข้อมูลโดยมีการรับประกันคุณภาพการส่ง (Quality of Service) ทาให้สามารถเลือกคุณภาพตามระดับที่เหมาะสมกับความสำคัญและรูปแบบของข้อมูล โดยเราสามารถเปรียบเทียบคุณสมบัตินี้กับการส่งจดหมายที่เราสามารถเลือกว่าจะ ส่ง แบบธรรมดา, ด่วนพิเศษ (EMS) หรือ ลงทะเบียนป้องกันการสูญหาย เป็นต้น

      5.9 VPN
VPN ย่อมาจาก Virtual Private Network เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายนอกอาคาร (WAN - Wide Area Netwok) ที่กำลังเป็นที่น่าสนใจและเริ่มนำไปใช้ในหน่วยงานที่มีหลายสาขา หรือ มีสำนักงานกระจัดกระจายอยู่ในหลายภูมิภาค ในระบบ VPN การเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานโดยใช้เครือข่าย อินเตอร์เนต แทนการต่อเชื่อมด้วย Leased line หรือ Frame Relay
         PN : Private network คือเครือข่ายภายในของแต่ละบริษัท (Public Network คือเครือข่าย สาธารณะเช่น Internet) Private network เกิดจากการที่บริษัทต้องการเชื่อมเครืข่ายของแต่ละสาขา สำนักงาน เข้าด้วยกัน (กรณีพวกที่เชื่อมต่อด้วย TCP / IP เลขที่ IP ก็จะกำหนดเป็น 10.xxx.xxx.xxx หรือ 192.168.xxx.xxx หรือ 172.16.xxx.xxx) ในสมัยก่อนจะทำการเชื่อมต่อด้วย leased line หลังจากที่เกิดการเติบโตของการใช้งาน Internet และการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง การปรับปรุงในเรื่อง ความเร็วของการเชื่อมต่อ ทำให้เกิดแนวคิดในการแทนที่ leased line หรือ Frame Relay ซึ่งมีราคาแพงด้วย Internet ที่มีราคาถูกกว่า แล้วตั้งชื่อ Virtual Private Network
รูปแบบของ VPN
Remote Access VPN
       เป็น การให้ผู้ใช้สามารถติดต่อเข้าใช้งานเครือข่ายของบริษัทได้ เช่น พวกผู้บริหาร หรือ ฝ่ายขาย ที่ออกไปทำงานนอกสถานที่สามารถเชื่อมต่อเข้าเครือข่ายของบริาทเพื่อเช็คข่าว อ่านเมล์ หรือ ใช้งานโปรแกรม เพื่อเรียกดูข้อมูล เป็นต้น อันนี้ถ้าเป็นสมัยก่อน ก็ต้องไปที่สำนักงานที่มีอยู่ในต่างประเทศ ถ้าไม่มีก็อาจจะต้อง ใช้การโทรทางไกลเข้ามาเชื่อมต่อกับศูนย์คอมพิวเตอร์ซึ่งค่าใช้จ่ายก็สูงด้วย การใช้ VPN สามารถ login เข้าสู่ ระบบงานของบริษัทโดยใช้โปรแกรมจำพวก VPN Client เช่น Secureremote ของบริษัท Checkpoint เป็นต้น วิธีการอย่างนี้ทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานเป็นอย่างมาก
วี ธี ก า ร ท ำ ง า น
       ที่สำนักงานจะต้องมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลาและลงโปรแกรม VPN Server / Gateway ไว้เพื่อรับคอนเนคชั่น โปรแกรมที่นิยมได้แก่ Checkpoint firewall - 1 หรือ VPN - 1 ทำหน้าที่รับ และตรวจสอบ การเชื่อมต่อจากเครื่องลูกข่าย สำหรับเครื่องลูกข่ายก็จะลงโปรแกรม VPN Client ซึ่งจะติดต่อกับเครื่องแม่ข่าย เพื่อเข้าใช้งาน เครือข่าย และต้องสามารถต่อเชื่อมอินเตอร์เน็ต
 
LAN - to - LAN connectivity
        กรณีนี้ จะเป็นเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย 2 เครือข่าย เช่น เครือข่ายของสำนักงานสาขา เข้ากับเครือข่าย ของสำนักงานงานใหญ่ กรณ๊นี้ทั้งสองสำนักงานจะทำการเชื่อมต่อ Internet ตลอดเวลา และทั้งสองฝั่งจะลง โปรแกรม VPN Server / gateway หรือสำหรับสำนักงานสาขาอาจติดตั้งเพียงแค่โปรแกรม VPN getway อย่างไรก็ตามปัจจุบันได้มีผู้ผลิตเราเตอร์ที่มีความสามารถด้าน VPN ออกมาขายไม่ว่าจะเป็นจาก CISO Checkpoint Sonicwall
 
VPN ทำงานอย่างไร การที่เราใช้งานเครือข่าย Private network นั้นทำให้มีความปลอดภัยเนื่องจากโอกาสที่ข้อมูลจะตก อยู่ในมือผู้ไม่พึงประสงค์นั้นมีน้อย รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อยังมีความสามารถในการเข้ารหัสและถอดรหัส ข้อมูล ในขณะที่การใช้งานอินเตอร์เนตนั้นปกติจะไม่มีการเข้ารหัส ข้อมูลที่ส่งกันก็ไม่ได้ส่งตรงไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง แต่ต้องผ่านเราเตอร์และเกตเวย์ต่าง ๆ ตั้งมากมายกว่าที่ข้อมูลจะถูกส่งไปปลายทาง ซึ่งถ้าเราจะใช้อินเตอร์เนตในการ ส่งข้อมูลทางธุรกิจภายในบริาทจะเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงจึงได้มีการพัฒนา เทคนิคขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัย ดังกล่าว เรียก Tunnel
 
Tunnel คือการที่ VPN client จะติดต่อกับ VPN Server โดยพยายามใช้เส้นทางประจำ (ปกติแล้ว ตามหลักการ การเชื่อมของ Internet นั้นจะไม่มีการกำหนดเส้นทางการเชื่อมต่อ เส้นทางการเชื่อมต่อจะเปลี่ยนไปตามสภาพการจราจร โดยเราเตอร์จะเลือกเส้นทางที่เหมาะสมในการส่งข้อมูล)
 
รูปแบบของการทำ Tunnel มีอยู่ 2 แบบ คือ
voluntary tunneling : เป็นการทำ tunnel โดย ผู้ใช้ทำการต่อเชื่อมกับ ISP หลังจากนั้น VPN Client โปรแกรมจะทำการเชื่อมกับเครือข่าย VPN
compulsory tunneling : วิธีนี้จะจัดการโดย ISP โดยผู้ใช้เพียงแต่เชื่อมต่อเข้า ISP เท่านั้น หลังจากที่ กระบวนการตรวจสอบผู้ใช้เสร็จสิ้นระบบของ ISP จะทำการเชื่อมต่อเครื่องของผู้ใช้เข้ากับเครือข่าย VPN ของผู้ใช้ ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้ทาง ISP จะต้องติดตั้งอุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า Front End Processor (FEP) หรือบางทีเรียกว่า POP Server (Point of Present Server)
 
VPN Protocol
โปรโตคอลที่ใช้ได้แก่
Point - to - Point Tunneling Protocol (PPTP) : เป็นเสปกที่พัฒนาขึ้นโดยไมโครซอฟท์ โดยเป็นโปรโตคอล
ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์
Layer Two Tunneling Protocol (L2TP) : พัฒนาขึ้นโดย CISCO ผู้ผลิตอุปกรณ์เนตเวอร์ครายใหญ่
Internet Protocol Security (IPsec) เป็นกลุ่มของโปรโตคอลหลายโปรโตคอล
IPsec สามารถใช้เป็น VPN protocol เองได้ หรือสามารถทำงานเป็นส่วนหนึ่งของโปรโตคอลอื่น เช่น PPTP
L2TP ในเรื่องการเข้ารหัสข้อมูล
 
ข้ อ ดี ข อ ง V P N
ลดค่าใช้จ่ายจากการศึกษาของ IDC พบว่า VPN สามารถลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อแบบ WAN ได้ราว 40 %
ความยืดหยุ่นสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีการทำ Remote Access ให้ผู้ใช้ติดต่อเข้ามาใช้งานเครือข่าย จากนอกสถานที่
 
ข้ อ เ สี ย ข อ ง V P N
VPN ทำงานอยู่บน Internet ซึ่งความเร็ว และการเข้าถึง และคุณภาพ (speed and access) เป็นเรื่องเหนือ
การควบคุมของผู้ดูแลเครือข่าย
VPN technologies ต่างกันตามผู้ขายแต่ละรายยังไม่มีมาตรฐานที่ใช้ร่วมกันอย่างแพร่หลายมากนัก
ต้องมีการพัฒนาเพื่อรองรับโปรโตคอลอื่นนอกจากโปรโตคอลที่อยู่บนพื้นฐานของ IP
6.จงเขียนคำศัพทย์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่ายมา20คำพร้อมอธิบายความหมายและคำอ่านภาษาอังกฤษ

1.ADSL
Asymmetric DSL หมายถึง เทคโนโลยี DSL ที่สามารถ ส่งสัญญาณข้อมูล แบบแบนด์วิดท์ไม่สมดุลย์ ผ่านคู่สายสัญญาณ เพียงคู่เดียวได้ โดยทั่วไป แบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาลง (downstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากเครือข่ายไปสู่ผู้ใช้ จะมีขนาด กว้างกว่าแบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาขึ้น (upstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากผู้ใช้ไปสู่เครือข่าย

2.ATM
Asynchronous Transfer Mode ซึ่งภายใต้การส่งข้อมูล แบบ ATM นี้ ข้อมูลหลายๆ ประเภท (ตัวอย่างเช่น เสียง ภาพ หรือตัวอักษร และตัวเลข) จะถูกส่งไปในรูปของ หน่วยข้อมูลที่เรียกว่า Cells ที่มีความยาว คงที่ตลอด (แทนที่จะ ถูกส่งในลักษณะของ "กลุ่ม" ข้อมูล (packets) ที่มีความยาว หลากหลายไม่คงที่ ซึ่งใช้กันใน เทคโนโลยีเช่น Ethernet และ Fiber Distributed Data Interface หรือที่เรียกว่า FDDI)

3.Backbone
เปรียบได้กับ กระดูกสันหลัง ของเครือข่ายสื่อสาร เป็นส่วนสำคัญ ของเครือข่าย ที่ทำหน้าที่เป็น เส้นทางหลัก ในการส่งข้อมูล ระหว่างเครือข่าย มากกว่า ที่จะใช้ส่งข้อมูล กันภายใน

4.Bandwidth
แบนด์วิดท์ หมายถึง ความจุข้อมูล ของเส้นทาง เชื่อมต่อเครือข่าย ที่สามารถส่งผ่านไปได้ ซึ่งบอกถึง ความเร็วในการส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงระบบ Ethernet นั้น สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ เป็นจำนวน 10 ล้านบิตต่อวินาที ในขณะที่ การเชื่อมโยงระบบ Fast Ethernet นั้น สามารถส่งข้อมูลได้ เร็วกว่าถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที จึงมีแบนด์วิดท์มากกว่า เป็น 10 เท่า

5.Bridge
บริดจ์ เป็นอุปกรณ์สำหรับ ส่งผ่านกลุ่มข้อมูล (packets) ผ่านส่วนต่างๆ ของเครือข่ายสื่อสาร โดยอาศัย โปรโตคอลสื่อสาร อันเดียวกัน ในกรณีที่ กลุ่มข้อมูลนั้น ต้องถูกส่งไปยัง ผู้ใช้ปลายทาง ที่อยู่ในเครือข่าย ส่วนเดียวกันกับผู้ส่ง บริดจ์จะไม่ส่งผ่านข้อมูล ออกไป นอกส่วนเครือข่ายนั้น แต่ในกรณีที่ ต้องส่งข้อมูล ไปยังส่วนอื่น บริดจ์ก็จะส่งผ่านข้อมูล ออกไป ผ่านทาง Backbone ของเครือข่าย
BROSWER
โปรแกรมสำหรับใช้เล่น internet เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) ได้แก่ Internter Explorer, Netscape, Opera

6.Client
ไคลเอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) ที่ต่ออยู่กับ เครือข่าย ที่สามารถใช้ "บริการ" ร่วมกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ บริการเหล่านี้ จะถูกจัดเก็บ และบริหาร โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์

7.COMPOSE
การแต่ง หรือเขียนจดหมาย Email

8.DIAL UP
การติดต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่าย ผ่านทางสายโทรศัพท์

9.DNS
Domain Name Server การแปลงชื่อโฮตของเครือข่ายไปเป็นแอดเดรศ บนระบบเครือข่าย TCP/IP หรือใน internet

10.DOMAIN
กลุ่มของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่บนเครือข่าย

11.DOWNLOAD

การส่งผ่านข้อมูล เช่น ไฟล์ภาพ, ไฟล์ภาพยนตร์, ไฟล์เสียงเพลง จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา

12.DSL
เป็นคำย่อของ Digital Subscriber Line หรือคู่สายดิจิตอล เป็นเทคโนโลยี เครือข่ายสาธารณะ ที่สามารถส่งข้อมูล ด้วยความเร็วสูง ผ่านคู่สายทองแดง ธรรมดาทั่วไป เป็นระยะทางหนึ่งได้ ในปัจจุบันมี DSL อยู่ 4 ประเภทได้แก่ ADSL, HDSL, SDSL และ VDSL ซึ่งทุกประเภท จะอาศัย อุปกรณ์โมเด็มเป็นคู่ โดยอันหนึ่ง จะอยู่ที่ศูนย์ และอีกอัน จะอยู่ที่ผู้ใช้ ในกรณีที่ใช้ เป็นคู่สายไขว้ เทคโนโลยี DSL โดยส่วนใหญ่ จะไม่ใช้ แบนด์วิดท์ทั้งหมด ของคู่สายไขว้ จึงใช้ส่วนที่เหลือ เป็นช่องสัญญาณเสียงได้

13.EISA
การเชื่อมต่อหรือ อินเตอร์เฟส แบบมาตราฐานของการ์ดต่าง ๆ ปัจจุบันล้าสมัยแล้ว

14.E-MAIL
Electronic Mail จดหมายอิเลคทรอนิกส์ ใช้สำหรับการรับ-ส่งข้อมูลผ่านทางเครือข่าย

15.ETHERNET
อีเธอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด โดยใช้โปรโตคอล CSMA/CD (ตรวจสอบการชนกัน ของข้อมูล) ในการส่งกลุ่มข้อมูล (packets) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถส่งข้อมูล ผ่านสายเคเบิล ได้หลายประเภท ที่ความเร็วข้อมูล 10 ล้านบิตต่อวินาที เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อคือ 10BASE-T

16.Extranet
เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นระบบเครือข่าย สำหรับผู้ใช้ภายนอกระบบ (เช่น ผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ขายอิสระ และตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น) ให้สามารถ เข้ามาสืบค้นข้อมูล ของบริษัทเช่น ราคาสินค้า รายการสินค้าคงคลัง กำหนดการส่งของ เป็นต้น

17.Fast Ethernet

เป็นระบบเครือข่ายอีกแบบ ที่ใช้วิธีการส่งข้อมูล แบบเดียวกับ ระบบอีเธอร์เน็ต (มีการตรวจจับ การชนกันของข้อมูล) แต่จะทำงานที่ ความเร็วสูงกว่าถึง 10 เท่าคือ 100 ล้านบิตต่อวินาที ระบบนี้ช่วยให้ สามารถปรับปรุง ระบบอีเธอร์เน็ตเดิม ที่มีการใช้งานหนาแน่น ให้มีประสิทธิภาพ การทำงานที่สูงขึ้น ได้อย่างราบรื่น เพราะใช้ระบบเคเบิล ระบบการใช้งาน และระบบการจัดการ เครือข่ายแบบเดียวกัน ระบบ Fast Ethernet นี้มีอยู่หลายแบบเช่น 100BASE-FX, 100BASE-T4 และ 100BASE-TX

18.FDDI

เป็นคำย่อมาจาก Fiber Distributed Data Interface หรือระบบต่อเชื่อม กระจายข้อมูล ด้วยใยแก้วนำแสง เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่นำพื้นฐาน ของเครือข่าย แบบส่งผ่านโทเค็น มาใช้บน สายเคเบิลใยแก้วนำแสง โดยทั่วไป จะใช้สำหรับระบบเครือข่ายหลัก ขององค์กรขนาดใหญ่
Frame Relay
เป็นบริการของ เครือข่ายพื้นที่กว้าง (WAN) ที่เป็นการเชื่อมต่อ แบบปิด-เปิด (on-and-off) ระหว่างสถานที่ ที่อยู่ห่างกัน เป็นระยะทางไกล

19.FTP
ย่อมาจาก File Transfer Protocol หรือโปรโตคอล ส่งผ่านไฟล์ เป็นส่วนหนึ่งของ กลุ่มโปรโตคอล อินเทอร์เนตหลัก (TCP/IP) ใช้สำหรับส่งไฟล์ จากเครื่องผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ ของคุณ

20.GATEWAY
คอมพิวเตอร์ตัวกลางในการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากเครือข่ายหนึ่ง ไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ใบงาน บทที่3 เรื่องเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์



1.คอมพิวเตอร์คืออะไร

ตอบ

คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" ขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วย การรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ แล้วทำการคำนวณ เคลื่อนย้ายเปรียบเทียบ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ


2ให้นักเรียนวาดรูปแสดงวงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์มาให้ สมบูรณ์ที่สุด




3.คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง


ตอบ

  • ความเร็ว (Speed) คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที

  • ความเชื่อถือได้ (Reliable) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

  • ความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) วงจรในคอมพิวเตอร์จะให้ผลการคำนวณที่ถูกต้องเสมอ

  • เก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ได้ (Store massive amount of information) ไมโครคอมพิวเตอร์จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความจุมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร และ ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านๆ ตัวอักษร

  • ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (Move information) โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่คนละซีกโลกได้ในเวลาเพียงไม่ถึงนาที ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ

4คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง


ตอบ มี 6 ประเภท คือ

1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
2.คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่





3.เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer) 




4.ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)ดังนี้ อียด




5.คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer )



6.มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer)เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์ เจริญอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจและองค์การหลายประเภทนิยมนำ มินิคอมพิวเตอร์มา ใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น




5.งานด้านวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใดเพราะอะไรจึงเลือกใช้คอมพิเตอร์ประเภทนั้น


ตอบ ควรเลือกใช้ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เพราะ เป็นคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงและ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายลานตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับอากาศทัง้ ระดับภาคพื้นดิน และระดับชั้น บรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ หรืองานด้านการควบคุมขีปนาวุธ งานควบคุมทางอากาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ



6.ระบบจ้องห้องพักของโรงแรมควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใดเพราะเหตุใดถึงเลือกใช้คอมพิวเตอรประเภทนั้น

ตอบ มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer)
เพราะเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง



7.ระบบงานธนาคารควรเลือกใช้รคอมพิวเตอร์ประเภทใด เพราะเหตุใดถึงเลือกใช้คอมพิวเตอรประเภทนั้น

ตอบ ควรเลือกใช้ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)เพราะ มีขนาดใหญ่ ประสิทธิภาพสูง มีความเร็วในการทำงานและมีหน่วยความจำสูงมาก เหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร เป็นต้น 



8.คอมพิวเตอร์พกพาหรือโน๊ตบุ๊คจัดจัดอยู่ในเครื่องคอมประเภทใด


ตอบ
ไมโครคอมพิวเตอร์(microcomputer)

9.องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยกี่ด้าน ได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ

คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟต์แวร์ (Software
3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information)
4. บุคคลากร (Peopleware)
5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure



10.ให้นักเรียนแต่ละคนวาดรูปแสดงขั้นตอนของสารสนเทศ








11.ให้นักเรียนแต่ละคนบอกถึงประโยชน์และวิธีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียน



1)ช่วยให้การเรียน การทำงาน ทันสมัยและไรับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ได้เรียนรู้จากสื่อที่ทันสมัยที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ 2)เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ช่วยในการค้นคว้าหาความรู้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนเพื่อหาความรู้ในการเรียนการค้นคว้าหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง



12.ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นว่าคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์หรือไม่และนักเรียนคิดว่ามีความจำเป็นที่ต้องเรียนคอมพิวเตอร์หรือไม่

ตอบ มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน
คิดว่ามีความจำเป็นเพราะ
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและรู้ถึงประโยชน์ในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานด้านต่างๆ 2. เพื่อให้ผู้เรียนใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบการทำงานด้านต่าง ๆ ได้ 3. ผู้เรียนเข้าใจได้ว่าแต่ละงานหรืออาชีพต่าง ๆ มีความจำเป็นอย่างไรในการนำคอมพิวเตอร์เข้า มาช่วยในการทำงาน